ท่อระบายน้ำ

 ชื่อเต็ม ท่อคอนกรีตหล่อสำเร็จ สำหรับการระบายน้ำชนิดปากลิ้นราง หรือ เรียกสั้นๆว่า "ท่อระบายน้ำคอนกรีต"

มี 2 ประเภท 1.ท่อกลม 2.ท่อเหลี่ยม โดยรายละเอียงแตกต่างกันดังนี้

 

ท่อระบายน้ำคอนกรีต ชนิดท่อกลม 

            จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 30 40 50 60 80 100 120 150 175 200 225 250 เซนติเมตร โดยมีควมยาวต่อท่อน 100 ซม. หรือ 1 เมตร (นิยมผลิต)

            ใช้ประโยชน์เพื่อการระบายน้ำประเภทไม่มีแรงดัน หรืออาศัยการไหลด้วยแรงโน้มถ่วง หรือจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ โดยแบ่งประเภท หรือ Class ดังนี้

            ประเภทที่ 1 ท่อคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก (คอร.) คือท่อที่หล่อโดยการอัดแรงคอนกรีตด้วยเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว ภายในไม่ได้เสริมหรือใส่เหล็ก 

             เหมาะกับงานระบายน้ำภายในบ้าน ในสวน งานที่ไม่ได้รับน้ำหนัก หรือมีแรงกดหรือแรงดันจากดินรอบข้างมากเกินไป เหมาะกับท่อขนาดเล็ก 30-60 ซม.

            ประเภทที่ 2 ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) คือท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก โดยภายในเนื้อคอนกรีตจะมีเหล็กวงท่อ เสริมภายใน จำนวน 2-4 วง ขึ้นอยู่กับขนาดท่อแต่ละประเภท 

             เหมาะกับงานใช้ภายในบ้าน โครงการบ้านจัดสรร ถนนชุมชนที่ต้องการมาตรฐานที่มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เหมาะกับการรับน้ำหนักที่มากเกินไป อาทิใต้ถนนหรือเส้นทางรถวิ่งผ่าน

            ประเภทที่ 3 ท่อคอนกรีตอัดแรง มาตรฐาน มอก. (คสล. ชั้น 4) คือท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก ที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.128-2560 ชั้นคุณภาพ Class 4

              มีขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-250 ซม. เหมาะกับงานมาตรฐาน งานการภาครัฐ ภายในท่อคอนกรีตเสริมด้วยโครงเหล็กเชื่อม สานกันตามมาตรฐานที่ มอก.กำหนด

              โดยปริมาณเหล็กจะเพิ่มมากขึ้น ตามขนาดที่ใหญ่ขึ้นของท่อระบายน้ำ (แต่เนื่องด้วย คสล.ชั้น4 ขนาดเริ่มต้นที่ 80 ซม.จึงไม่เป็นที่นิยมใช้งาน)

            ประเภทที่ 4 ท่อคอนกรีตอัดแรง มาตรฐาน มอก. (คสล. ชั้น 3) คือท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก ที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.128-2560 ชั้นคุณภาพ Class 3

              มีขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-250 ซม. เหมาะกับงานที่ต้องการมาตรฐาน งานการภาครัฐ ภาคเอกชน งานต่อต้องการรับรับน้ำหนัก รองรับการบดอัด หรือใต้เส้นทางสัญจร

               ภายในท่อคอนกรีตเสริมด้วยโครงเหล็กเชื่อม สานกันตามมาตรฐานที่ มอก.กำหนด  โดยปริมาณเหล็กจะเพิ่มมากขึ้น ตามขนาดที่ใหญ่ขึ้นของท่อระบายน้ำ (เป็นท่อมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด มีครบทุกขนาด)

            ประเภทที่ 5  ท่อคอนกรีตอัดแรง มาตรฐาน มอก. (คสล. ชั้น 2) คือท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก ที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.128-2560 ชั้นคุณภาพ Class 2

              มีขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-175 ซม. เหมาะกับงานที่ต้องการมาตรฐาน งานการภาครัฐ ภาคเอกชน กรมทางหลวง งานชั้นพิเศษ งานต่อต้องการรับรับน้ำหนักมาก รองรับการบดอัด หรือใต้ผิวจราจร

              ภายในท่อคอนกรีตเสริมด้วยโครงเหล็กเชื่อม สานกันตามมาตรฐานที่ มอก.กำหนด  โดยปริมาณเหล็กจะเพิ่มมากขึ้น ตามขนาดที่ใหญ่ขึ้นของท่อระบายน้ำ (เป็นท่อใต้ผิวจราจร ของหน่วยงานกรมทางหลวง)

            ประเภทที่ 6  ท่อคอนกรีตอัดแรง มาตรฐาน มอก. (คสล. ชั้น 1) คือท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก ที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.128-2560 ชั้นคุณภาพ Class 1

              มีขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-120 ซม. เหมาะกับงานที่ต้องการมาตรฐาน งานการภาครัฐ ภาคเอกชน กรมทางหลวง งานชั้นพิเศษ สนามบิน เขื่อน โรงไฟฟ้า งานต่อต้องการรับรับน้ำหนักมากๆ หรือซ่อมแซมได้ยาก

             ภายในท่อคอนกรีตเสริมด้วยโครงเหล็กเชื่อม สานกันตามมาตรฐานที่ มอก.กำหนด  โดยปริมาณเหล็กจะเพิ่มมากขึ้น ตามขนาดที่ใหญ่ขึ้นของท่อระบายน้ำ (เป็นท่อที่ใช้ใต้ผิวสนามบิน เขื่อน โรงไฟฟ้า เป็นต้น)

 

 

มิติขนาดท่อต่างๆ

ภาพการเสริมเหล็กโครงท่อ ตามมาตรฐาน มอก.กำหนด

 

ท่อระบายน้ำคอนกรีต ชนิดท่อเหลี่ยม

      ท่อเหลี่ยม คือท่อระบายน้ำลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม  จะมีพื้นที่ในการระบายน้ำได้ดีกว่าท่อกลม

และยังแบ่งรูปทรงออกเป็น แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาด 90*90 , 120*120 , 150*150 , 180*180 , 210*210 , 240*240 , 270*270 , 300*300 ซม.

และแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาด 90*60 , 120*90 , 180*150 , 210*180 , 240*180 , 240*210 , 270*210 , 270*240 , 300*210 , 300*240 , 300*270 ซม.

ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ชนิดท่อเหลี่ยม BOX CULVERT  แบ่งมาตรฐานสินค้า ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทที่ 1 ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ชนิดท่อเหลี่ยม ใต้ผิวทางเท้า มาตรฐาน มอก.1164-2559 

ประเภทที่ 2 ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ชนิดท่อเหลี่ยม ใต้ผิวจราจร มาตรฐาน มอก.1166-2559 

ประเภทที่ 3 ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ชนิดท่อเหลี่ยม มาตรฐานกรมทางหลวง 2015 

โดยแต่ละมาตรฐาน จะกำหนดปริมาณเหล็กเสริมภายในท่อที่แตกต่างกันไป โดยจะกำหนดเป็นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริม ทั้งนอกและใน รวมทั้งระยะซ้อนทับต่างๆ

ดังนั้นเหล็กเสริมท่อแต่ละท่อนอาจมีขนาดหรือระยะเสริมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการออกแบบและเลือกใช้งานของแต่ละโรงงาน แต่จะต้องมีพื้นที่หน้าตัดเหล็กโดยรวมเป็นไปตามมาตรฐานที่ มอก. กำหนด